วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552

ใกล้สอบแล้วนะเพื่อนๆ

นี่ก็ใกล้วันสอบเข้ามาทุกทีแล้วนะเพื่อนๆ เร็วมากเลยใช่มั้ย เรายังตั้งตัวไม่ทันเลย
อีกไม่กี่วันเราก็จะจบม.4แล้วสินะ ต้องขึ้น ม.5แล้วอ่ะ แก่ขึ้นอีกปีแล้วสิเรา555+
หลายอาทิตย์ที่ผ่านมามีแต่สอบกับสอบ เพื่อนๆคงเครียดกันน่าดูเลย เราก็เหมือนกัน
สอบๆๆติดๆๆกันทุกวันเลยแต่พอปิดเทอมก็คงจะได้พักผ่อนกันนะ แต่ก็มีเพื่อนๆบางคนที่ขยัน
ขึ้นไปเรียนพิเศษที่กรุงเทพฯกัน ไปทำการบ้านต่อดีกว่า

อย่าลืมอ่านหนังสือสอบกันนะเพื่อนๆ

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

วันครูนั้นสำคัญไฉน....

ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
แหล่งที่มา http://www.zabzaa.com/event/teacher.htm

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

Good sport

Good sport
I have learn the meaning of
-Manything about bowling
-Ability in play bowling
-Manything obout bowling ball
-Origin of bow
I want to learn more of manything obout bowling because Bowling is interlest sport.Bowling can bring our have maditative and bowling is fun sport,cause bowling player can enjoy it.And important thing is bowling bring bowling player have good helth.
Opinion in the meaning
I think bowling is good sport and can play everybody every saxual every age and Bowling is sport easy play, fun,bring bowling player enjoy it but Bowling is sport must to have meditative.And the time more Good arrive in over here.Good must practice in earnest.must to have like bowling really and must to enjoy.

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

มหาเวสสันดรชาดก

๑.กัณฑ์ทศพรความย่อ กล่าวถึงเหตุที่จะมีเรื่องเวสสันดรชาดกขึ้น กับเล่าเรื่องพระนางผุสดีในอดีตจนถึงทูลขอพร ๑๐ ประการ จากท้าวมัฆวารผู้ภัสดา พระนางผุสดีได้รับพรทิพย์ ๑๐ ประการ ในวันจะเกิดมาเป็นมารดาของพระเวสสันดร ณ เมืองสีพีราษฎร์ เนื้อเรื่อง เมื่อครั้งอดีตกาลที่ล่วงมา นครสีพีรัฐบุรีนั้นมีพระราชาพระนามสีพีราช ทรงครองเมืองโดยทศพิธราชธรรม พระราชาทรงยกบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นเสวยราชย์แทน เมื่อเจริญวัยสมควรแล้ว พระราชโอรสมีพระนามว่า "สัญชัย" และได้อภิเษกกับพระนางผุสดี พระธิดาแห่งราชากรุงมัททราช พรจากภพสวรรค์ แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์ เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอกัณฑ์ทศพรจากพระอินทร์ได้ ๑๐ ข้อ ทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดง ถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า และอธิฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร ๑๐ ข้อนั้นมีดังนี้๑. ขอให้เกิดในกรุงมัททราช แคว้นสีพี๒. ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย๓. ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง๔. ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม๕. ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป๖. ขอให้พระครรภ์งาม ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ๗. ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง๘. ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ๙. ขอให้ผิดพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ๑๐. ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้กัณฑ์ที่๒ความย่อ กล่าวถึงปฏิสนธิพระนางผุสดี พระเวสสันดร และพระชาลี-กันหา ไปจนถึงพราหมณ์เมืองกลิงครัฐ ๘ คน มาทูลขอพญาช้างปัจจัยนาคจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรพระราชทานให้ ทำให้ชาเมืองแค้นเคืองใจ พากันเดินขบวนประท้วงทูลพระราชบิดาให้เนรเทศพระเวสสันดรไปอยู่เขาวงกตหรือประหารด้วยท่อนจันทน์ เนื้อเรื่อง ได้มาเกิดเป็นอัครชายา ของพระราชาแคว้นสีพีรัฐสมดั่งคำพระอินทร์นั้น พระนางยังมีพระสิริโฉมงดงาม ตามคำพร อีกด้วย ครั้งเมื่อทรงพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือน พระอินทร์ก็ทูลอาราธนาพระโพธิสัตว์มาจุติในครรภ์พระนาง ประสูติพระกุมาร วันหนึ่งพระนางผุสดี ทรงทูลขอพระราชาประพาสพระนคร เมื่อขึ้นสีวิกาเสลี่ยงทองเสด็จสัญจร ไปถึงตรอกทาง ของเหล่าพ่อค้าก็เกิดปวดพระครรภ์ และทรงประสูติพระราชาโอรสกลางตรอกนั้น พระราชกุมารจึงได้พระนามว่า "เวสสันดร" ในวันที่พระราชกุมารทรงประสูติ พญาช้างฉัททันต์ได้นำลูกช้างเผือกเข้ามาในโรงช้างต้น ช้างเผือกคู่เผือกคู่บารมี นั้นมีนามว่า "ปัจจัยนาเคนทร์" พระราชกุมารเวสสันดร ทรงบริจาคทานตั้งแต่ ๔-๕ ชันษา ทรงปลดปิ่นทองคำ และเครื่องประดับเงินทองแก้วเพชรให้แก่นางสนมกำนัลทั่วทุกคนถึง ๙ ครั้ง เพื่อมุ่งหวังพระโพธิญาณภายภาคหน้า เมื่อทรงเจริญชันษาได้ ๙ ปี ก็ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่าจะบริจาคเลือดเนื้อ และดวงหทัย เพื่อมุ่งพระโพธิญาณ ในกาลข้างหน้าอย่างแน่วแน่ ครั้นถึงวัย ๑๖ พรรษา ก็แตกฉานในศิลปวิทยา ๑๘ แขนง ทรงได้ขึ้นครองราชย์ และอภิเษกกับพระนางมัทรี และมีพระโอรสกับพระธิดาพระนามว่า "ชาลีกุมาร" และ "กัณหากุมารี" อันหมายถึง ห่วงทองบริสุทธิ์ เวลาต่อมาเมืองกลิงครัฐเกิดกลียุค ฝนแล้งผิดฤดูกาลข้าวยากหมากแพงเป็นที่ยากเข็ญทุกข์ร้อนไปทั่ว ชาวนครมาชุมนุมร้องทุกข์หน้าวังกันแน่นขนัด พระเจ้ากลิงคราชจึงทรงถือศีล ๗ วัน เพื่อขอบุญกุศลช่วย ทว่าฝนฟ้าก็ยังแล้งหนัก อำมาตย์จึงทูลให้ทรงขอช้างเผือกแก้วปัจจัยนาเคนทร์ของพระเวสสันดร ด้วยว่าพระเวสสันดรกษัตริย์สีพีรัฐนั้นขี่ช้างคู่บารมีไปหนใด ก็มีฝนโปรยปรายชุ่มชื้นไปทั่วแคว้น พระเจ้ากลิงคราชจึงส่ง ๘ พราหมณ์ไปทูลขอช้างแก้วจากพระเวสสันดร เมื่อได้ช้างแก้วจากพระเวสสันดรแล้ว พราหมณ์ก็ขี่ช้างออกจากกรุง บรรดาชาวนคร เห็นช้างพระราชาก็กรูกันเข้าล้อม และตะโกนด่าทอจะทำร้ายพราหมณ์ทั้ง ๘ คน แต่พราหมณ์ตวาดตอบว่า พระเวสสันดรพระราชทานช้างให้พวกตนแล้ว เมื่อพราหมณ์นำช้างแก้วไปถึงเมือง ฝนฟ้าก็โปรยปรายลงมาเป็นที่ยินดีทั้งแคว้น แต่ในกรุงสีพีนั้นกลับอลหม่าน มหาชนต่างมาชุมนุมที่หน้าพระลานร้องทุกข์พระเจ้ากรุงสัญชัยว่า พระเวสสันดรยกพระยาคชสารคู่บ้านเมืองให้คนอื่น ผิดราชประเพณี เกรงว่าอีกต่อไปภายหน้าอาจยกเมืองให้คนอื่นก็ได้ ขอให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากนครเถิด
๓.กัณฑ์ทานกัณฑ์ความย่อ กล่าวถึงพระราชมารดา รับอาสาไปทูลวิงวอนขอโทษพระเจ้ากรุงสัญชัย ให้ทรงลดหย่อนผ่อนโทษแต่ไม่สำเร็จ จากนั้นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญมหาทาน เรียกว่า "สัตตสดกมหาทาน" แล้วทูลลาพระชนกชนนี ทรงขึ้นราชรถเวียนรอบเมือง มีพราหมณ์ ๔ คนมาทูลขอม้าและราชรถพระองค์ก็เปลื้องปลดพระราชทานให้ เนื้อเรื่อง พระเจ้ากรุงสัญชัยจำต้องเนรเทศพระราชโอรสด้วยเสียพระทัยนัก พระนางผุสดีทูลขออภัยโทษก็มิเป็นผลสำเร็จ พระเวสสันดรทูลลาพระมารดาพระบิดา และขอบริจาคทานให้พิธีสัตตสตกมหาทาน คือ ช้าง ม้า โคนม รถม้า ทาสและทาสี อย่างละ ๗๐๐ บริจาคให้คนทั่วไป สัตตสตกมหาทานนั้น คือ ช้าง ๗๐๐ เชือก ม้า ๗๐๐ ตัว โคนม ๗๐๐ ตัว รถม้า ๗๐๐ คัน นารี ๗๐๐ นาง ทาส ๗๐๐ คน ทาสี ๗๐๐ คน ผ้าอาภรณ์ ๗๐๐ ชิ้น เสด็จออกจากนครพระนางมัทรีพาพระโอรสและพระธิดาตามเสด็จออกป่าด้วย มิทรงยอมอยู่ในวัง แม้พระเวสสันดร จะยับยั้งห้ามปราม มิให้มาตกระกำลำบากด้วยกันในป่า ระหว่างทางที่เสด็จ ขึ้นราชรถทองไปนั้น มีพราหมณ์ วิ่งมาทูลขอม้าบ้าง ขอราชรถบ้าง พระเวสสันดรก็ยกให้ทั้งสิ้น ในที่สุดจึงต้องทรงอุ้มพระโอรส และพระธิดา เสด็จเข้าป่าไป๔.กัณฑ์วนประเวศน์ความย่อ กล่าวถึงพระเวสสันดร มัทรี ชาลี กัณหา เสด็จมุ่งสู่ป่าเขาคีรีวงกต โดยอาศัยไมตรีจิตมิตรกษัตริย์ เมืองเจตราชทูล ระยะทาง จนกระทั่งถึง ทั้งสี่พระองค์ทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในนั้นเป็นเวลา ๗ เดือน กษัตริย์เจตราชแต่งตั้งพรานเจตบุตรเป็นผู้อยู่คอยพิทักษ์รักษาสวัสดิภาพของพระเวสสันดร เนื้อเรื่อง เมื่อเสด็จด้วยพระบาทถึงเมืองเจตรัฐ พระราชาเสด็จมาต้อนรับและทูลเชิญให้ครองเมืองเจตรัฐนั้น แต่ พระเวสสันดรขอไปบำเพ็ญเพียรในป่า กษัตริย์เจตรัฐจึงรับสั่งให้เจตบุตรคอยอารักขาในป่า และถวายน้ำผึ้ง และเนื้อให้พระเวสสันดรด้วย เมื่อพระเวสสันดรเดินทางมาถึงเขาวงกต พระนางมัทรีและชาลีกุมาร กัณหากุมารีต่างก็เหน็ดเหนื่อยสะอื้นไห้ ด้วยความลำบากยากเข็ญ พระเวสสันดรจึงทรงเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นนุ่งห่มของนักบวช พระนางมัทรี ก็ทรงบวช เป็นดาบสินี บำเพ็ญศีลกันในป่าอยู่ที่อาศรม พระนางมัทรีต้องปัดกวาดอาศรมทุกวันแล้วก็หาผลไม้ในป่า ตักน้ำ มาเตรียมไว้๕.กัณฑ์ชูชกความย่อ กล่าวถึงเฒ่าชราตาชูชก ได้เร่ร่อนขอทาบแล้วนำเงินไปฝากเพื่อนไว้ แต่เพื่อนก็นำเงินไปใช้จนหมด เมื่อชูชกไปทวงจึงไม่มีจะให้ จึงยกนางอมิตตดาธิดาสาวให้แทน นางปฏิบัติต่อสามีดี จนเป็นเหตุให้พราหมณี เพื่อนบ้านพากันอิจฉาด่าว่าตบตี เลยไม่ยอมทำงานนอก และแนะให้เฒ่าชูชกไปทูลขอสองกุมารมาเป็นข้าทาสรับใช้ เนื้อเรื่อง ชูชก ขอทานเฒ่า อีกด้านหนึ่งนั้น พราหมณ์นาม "ชูชก" ได้เที่ยวขอทานเก็บเงินได้ถึง ๑๐๐ กษาปณ์ จึงนำเงิน ไปฝากเพื่อนไว้พลางคุยอวดเศรษฐีอย่างปีตินัก จากนั้นก็ออกเดินทางตระเวนขอเงินสืบไป ส่วนพราหมณ์ผัวเมียเก็บเงินไว้นานแล้ว เห็นว่าชูชกไม่มาเอาสักที คิดว่าชูชกคงจะตายไปแล้ว จึงชวนกัน นำเงินนั้นออกมาใช้จ่ายเสียจนหมดทั้งสิ้น ครั้นชูชกหวนกลับมาทวงเอาเงิน สองผัวเมียก็ตกใจ งันงกมิรู้จะทำประการใด ด้วยความที่กลัวชูชกจะเอาความ จึงตกลงจะยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชกแทนเงินที่ใช้หมดไป นางอมิตดามีรูปงาม และวัยสาว ส่วนชูชกนั้นเฒ่าชรา และมีรูปลักษณ์อุบาทว์อัปลักษณ์ยิ่งนัก เมื่อชูชกพานางอมิตดาไปอยู่กินด้วยกัน ที่หมู่บ้านทุนวิฐ พวกเมียพราหมณ์บ้านอื่น ต่างพากันริษยาอิจฉานางอมิตดา พราหมณ์ทั้งหมู่บ้าน ก็ชื่นชมนางอมิตดา จนมาทุบตีเมียตนกันทุกวัน ด้วยเพราะนางอมิตดานั้นเป็นบุตรกตัญญู เมื่อมาอยู่กับชูชกก็ปรนนิบัติรับใช้ทุกประการมิให้ขาดตกบกพร่อง วาจาก็ไพเราะ มิเคยขึ้นเสียง เหล่าเมียของพราหมณ์ จึงมาดักนางอมิตดาที่ท่าน้ำ รุมด่าว่านางอมิตดาที่มาเป็นเมียชูชกน่าเกลียดตัวเหม็นน่าขยะแขยง ยอมรับใช้ตาเฒ่าทุกอย่างน่าสมเพช นางอมิตดา ถูกรุมด่าก็หิ้วหม้อน้ำร้องไห้กลับบ้าน บอกแก่ชูชกว่าจะไม่ไปตักน้ำและไม่ทำงานบ้านอีกแล้ว ขอให้ชูชกไปทูลขอกัณหาชาลี จากพระเวสสันดร มาช่วยงานบ้านก็แล้วกัน ด้วยความรักภรรยา เฒ่าชูชกจึงเตรียมข้าวตู และถั่วงาใส่ย่ามออกเดินทางไปยังเขาวงกตทันที ในระหว่างเดินทาง ตาเฒ่าชูชกแวะเวียนถามชาวบ้านว่า พระเวสสันดร เสด็จประทับอยู่ ณ ที่แห่งใด พวกชาวบ้านต่างก็ขว้างอิฐหินเข้าใส่ขอทานเฒ่า แล้วขับไล่ด้วยถ้อยคำหยาบคายต่าง ๆ ว่าเป็นไอ้พวกจัญไร มักขอเอาทุกอย่าง จนพระเวสสันดรตกระกำลำบาก เฒ่าชูชกเดินดุ่มเข้าป่า ไปเจอสุนัขของเจตบุตรที่อารักขาป่า สุนัขต่างวิ่งกรูเข้าไล่กัดขอทานเฒ่า จนต้องวิ่งขึ้นต้นไม้ด้วยตกใจเสียขวัญ๖.กัณฑ์จุลพนความย่อ กล่าวถึงชูชกเดินทางไปเขาวงกต พบพรานเจตบุตร ชุชกใช้กลอุบายหลอกว่าเป็นราชทูตของพระเจ้ากรุงสัญชัย พร้อมชูกลักพริก กลักขิงเสบียงกรังที่นางอมิตตดาจัดหาให้ ว่าเป็นพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสัญชัย จนพรานเจตบุตร หลงเชื่อ จึงชี้บอกทางให้ไปจนถึงอาศรมบทของพระอัจจุตฤาษี เนื้อเรื่อง พรานเจตบุตรผู้มีรูปร่างกำยำไว้หนวดแดงหน้าตาถมึงทึง ก็ถือหน้าไม้อาบยาพิษมาหาชูชกหมายจะฆ่าให้ตาย ตามคำสั่งกษัตริย์เจตรัฐ เฒ่าชูชกเจ้าเล่ห์คิดอุบาย เอาตัวรอดจึงตัวสั่นงันงกรีบร้องว่า ตนเองเป็นราชทูต ของพระราชา มาทูลเชิญเสด็จพระเวสสันดรกลับวัง เพราะพระราชาทรงอภัยโทษแล้ว พรานเจตบุตรได้ยิน ก็ดีใจจึงเชื่อคำเท็จนั้น จึงจัดเสบียงเพิ่มให้ชูชกและชี้ทางให้อีกด้วย๗.กัณฑ์มหาพนความย่อ กล่าวถึงชูชกเดินทางไปพบพระอัจจุตฤาษี ได้หลอกลวงพระฤาษีให้หลงกลว่าเป็นกัลยาณมิตรของพระเวสสันดร จนได้พักค้างคืนกับพระฤาษี รุ่งขึ้นพระฤาษีได้ให้กินผลไม้ และชี้ให้ชมเขาลำเนาไพรพร้อมบอกระยะทางสภาพป่า และหนทางที่จะไปสู่เขาวงกตให้แก่ชูชก ซึ่งประกอบไปด้วย เขาใหญ่ สระน้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด เนื้อเรื่อง เฒ่าชูชกเดินทางไปกลางป่า พบฤาษีอัตจุตก็เล่าความเท็จอีก ฤาษีจึงยอมชี้ทางไปอาศรมของพระเวสสันดร เมื่อไปถึงเป็นเวลาพลบค่ำ เฒ่าชูชกก็ซ่อนตัวบนชะง่อนเขาด้วยคิดว่า ต้องรอรุ่งเช้าให้พระนางมัทรีออกไปหาผลไม้ เพราะนางคงไม่ยอมยกลูกให้ใครแน่๘.กัณฑ์กุมารความย่อ กล่าวถึงชูชกเดินทางถึงอาศรมของพระเวสสันดร ได้หยุดพักผ่อนที่คาคบไม้ ๑ ราตรี รุ่งขึ้น เมื่อนางมัทรีเข้าป่า หาผลไม้แล้ว ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอพระชาลีและกัณหา ก็ทรงประทานให้ สองกุมารได้ยิน จึงตกใจกลัว หนีไปซ่อนตัว อยู่ในสระ พระเวสสันดรได้ขอร้องให้ทั้งสองพระองค์ออกมา แล้วชูชกก็นำทั้งสองพระองค์ไป เนื้อเรื่องเคราะห์ร้ายมาถึงและในคืนนั้นเอง พระนางมัทรีทรงสุบินร้ายว่า มีบุรุษผิวดำร่างสูงใหญ่นุ่งผ้าย้อมฝาด สองหู ทัดดอกไม้แดง มือถือดาบใหญ่ ตรงเข้าจิกพระเกศาแล้วแทงดาบใส่ดวงพระเนตร ควักดวงตาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นกรีดพระอุระควักเอาพระทัยไปทั้งดวง พระนางร้องลั่นสะดุ้งตื่นบรรทมพระวรกายสั่นสะท้าย รีบไปหาพระเวสสันดรเพื่อจะให้ทำนายฝัน แต่เมื่อเข้าไป ในอาศรมพระเวสสันดรก็ตรงตรัสว่า "น้องหญิงจงเล่าความอยู่ที่ข้างนอกเถิด" พระนางมัทรีทรงทูลเล่า พระสุบิน นั้นพระทัยสั่น พระเวสสันดรทรงทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นในรุ่งเช้า แต่ทรงตรัส แก่พระนางว่าเป็น ความตรากตรำลำบาก จึงทำให้เกิดธาตุวิปริตดังนี้ เมื่อรุ่งเช้าพระนางมัทรีมีลางสังหรณ์ไม่อยากเสด็จเข้าป่า จึงตรัสสั่งพระโอรสและธิดาให้อยู่ใกล้ ๆ เสด็จพ่อ ครั้นพระนางมัทรีไปแล้ว เฒ่าชูชกจึงรีบเข้าไปยังบริเวณอาศรมทันที เมื่อพระกุมารชาลีเข้าไปถามต้อนรับ ชูชกสังเกตรู้ว่าพระกุมารเป็นเด็กฉลาด จึงทรงร้องตวาดไล่ ไปด้วยหวังจะข่มให้กลัวแล้วหนีไป แล้วเฒ่าชูชกก็เข้าเฝ้าพระเวสสันดร พยายามอ้างถึง ความลำบากยากเข็ญ นานาประการ ในการเดินทางฝ่าอันตรายมาถึงป่านี้ ก็เพื่อขอปิยบุตรไปช่วยงานที่บ้าน เนื่องจากตนจนยากไม่มีเงินซื้อทาสได้ พระเวสสันดรทรงตรัสอนุญาต ชาลีกุมารแอบได้ยินจึงพาน้องสาวไปซ่อนที่ใต้ใบบัวข้างสระน้ำเฒ่าชูชกเห็นเด็กทั้งสองหายไป ก็แกล้งติเตียนตัดพ้อพระเวสสันดรด้วยคำบริภาษว่า "ไหนล่ะ ที่พระองค์บริจาคทาน ปากยกให้แต่ไหนละเด็กร้ายทั้งสองคงจะคิดหนีไปแล้ว พระองค์มิได้มีจิตบริจาคทานตามที่ลั่นสัจจะไว้เลย" เมื่อสดับดังนั้น พระเวสสันดรจึงทรงเสด็จ ออกตามหาทั่วบริเวณ ชาลีราชกุมารมิอยากให้พระราชบิดาออกร้องเรียก นานไป จึงจูงน้องออกมา พระเวสสันดร ขอให้กัณหา ชาลี ติดตามเฒ่าชูชกไปเถิด แต่ให้รอร่ำลาพระนางมัทรีก่อน เฒ่าชูชกไม่ยอมฟัง รีบหาเชือกเถาวัลย์มาผูกมัดพระโอรสพระธิดา แล้วเอาหวายเฆี่ยนตี ต่อหน้าพระเวสสันดร พลางฉุดกระชากลากไปอย่างโหดเ**้ยม กัณหา ชาลี ถูกตีรุนแรงก็ร่ำไห้หาพระบิดาพระมารดา พระเวสสันดรทรงกันแสง แต่ก็ตั้งมั่นในสัจจะที่พระองค์ตั้งจิตไว้ ก่อนไปนั้นชูชกว่า ถ้าจะไถ่ตัว กันหาชาลีได้ต้องให้ ทาส ทาสี ช้าง ม้า โคนม ทองคำ สิ่งละ ๑๐๐ แก่ชูชก ครั้นเมื่อเฒ่าร้ายนำตัวพระกุมารและกุมารีไปแล้ว ก็ให้เกิดอัศจรรย์ดินฟ้าวิปโยค ครืนครั่น ฟ้าผ่าน่าสะพรึงกลัวไปทั่วป่าหิมพานต์
๙.กัณฑ์มัทรีความย่อ กล่าวถึงพระนางมัทรีเข้าป่าหาผลไม้ แล้วเจอเหตุการณ์มหัศจรรย์ต่าง ๆ จึงเดินทางกลับอาศรม ก็เกิดพายุใหญ่ มืดครึ้มไปทั่วบริเวณ อีกทั้งยังมีสิงห์สาราสัตว์ร้าย มาขวางทางไว้ เมื่อมาถึงอาศรมได้ทราบความ ทำให้พระองค์ เสียพระทัยมาก จนสลบไป หลังจากฟื้นคืนสติกลับมา พระนางก็อนุโมทนากับพระเวสสันดรด้วย เนื้อเรื่องรุ่งเช้าพระนางมัทรี เข้าป่าหาผลไม้ "เกิดเหตุแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ผลไม้เผือกมันช่างหายากที่สุด ไม่ว่า จะเป็นมะม่วงมัน ลูกจันทน์ ลิ้นจี่ น้อยหน่า สาลี่ ละมุด พุทรา ไม่มีให้เก็บเหมือนดังกับวันก่อน นางรีบย้อนกลับเคหา ก็เกิดพายุใหญ่ จนมืดครึ้มไปทั่วทั้งป่า ท้องฟ้าสีแดงปานเลือดละเลง ทั้งแปดทิศปรากฎมืดมนไปหมดอย่างไม่เคยมี พระนางทรงห่วงหน้าพะวงหลัง เกรงจะมีภัยแต่พระเวสสันดรา กัณหาและชาลีพระนางมัทรีรีบยกหาบใส่บ่ารีบเดินทาง พอถึงช่องแคบระหว่างเขาคีรี เป็นตรอกน้อยรอยวิถีทาง ที่เฉพาะจะต้องเสด็จผ่าน ก็พบกับสองเสือสามสัตว์มานอนสกัดหน้า เทวดาสามองค์แปลงร่างเป็นราชสีห์ เสือเหลือง เสือโคร่งสกัดทางนางไว้เพื่อมิให้พระนางมัทรีติดตามกัณหา ชาลีได้ทัน แต่ถึงกระนั้น เมื่อยามทุกข์เข้าบีบคั้น ความรักลูก ความห่วงพระภัสดา พระนางจึงก้มกราบวิงวอน ขอหนทางต่อพญาสัตว์ทั้งสาม เมื่อได้หนทางแล้ว พระนางก็รีบเสด็จกลับอาศรม เมื่อมาถึงอาศรม ไม่พบกัณหา ชาลี พระนางก็ร้องเรียกหาว่า"ชาลี กัณหา แม่มาถึงแล้ว เหตุไฉนไยพระลูกแก้ว จึงไม่มารับเล่าหลากแก่ใจ แต่ก่อนร่อนชะไรสิพร้อมเพรียง เจ้าเคยวิ่งระรี่เรียงเคียงแข่งกันมารับพระมารดา เคยแย้มสรวลสำรวจร่า ระรื่นเริงรีบรับเอาขอคาน แล้วก็พากันกราบกรานพระชนนี พ่อชาลี ก็จะรับเอาผลไม้ แม่กัณหาก็จะอ้อนวอนไหว้จะเสวยนม ผทมเหนือพระเพลาพลาง เจ้าเคยฉอเลาะแม่ต่าง ๆ ตามประสาทารกเจริญใจฯ" บัดนี้ลูกรักทั้งคู่ไปไหนเสีย จึงมิมารับแม่เล่า ครั้นเข้าไปถามพระเวสสันดรก็ถูกตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ จนพระนางมัทรีถึงวิสัญญีภาพสลบลง พระเวสสันดรทรงปฐมพยาบาลจนพระนางมัทรีฟื้น แล้วจึงแจ้งความจริงว่า พระองค์ได้ทรงยกลูกรักชายหญิงทั้งสอง มอบให้แก่ชูชกไปแล้วตั้งแต่เมื่อวาน พระนางก็อนุโมทนาซึ่งทานนั้นด้วย๑๐.กัณฑ์สักกบรรพความย่อ กล่าวถึงพระอินทร์ เกรงว่าจะมีผู้มาขอพระนางมัทรีไปอีก จักไม่มีผู้ปรนนิบัติพรเวสสันดร พระโพธิญาณ จักเป็นอันตราย จึงได้แปลงเป็นพราหมณ์ชราลงมาขอ เมื่อได้แล้วไม่เอาไป กลับถวายคืนแก่พระเวสสันดร โดยห้ามประทานนางแก่ผู้ใดอีก พร้อมทั้งประสาทพร ๘ ประการ ให้แก่พระเวสสันดร แล้วจึงเสด็จกลับสู่สวรรค์ เนื้อเรื่อง ขณะนั้นท้าวสหัสนัยบนสวรรค์ เกรงว่าจะมีชายโฉดมาทูลขอพระนางมัทรี จึงจำแลงกาย เป็นนักบวชชรา มาทูลขอ พระนาง พระเวสสันดรทรงยินดีบริจาคทานให้ แต่นักบวชชราเมื่อได้รับแล้วก็ไม่เอาไป กลับถวายคืน แก่พระเวสสันดร โดยห้ามพระองค์ประทานนางแก่ผู้ใดอีก ก่อนกลับองค์อินทร์ ได้ประสาทพรให้พระเวสสันดร ๘ ประการ คือ๑. ให้ทรงได้รับอภัยโทษ๒. ให้ทรงช่วยคนถูกฆ่าได้๓. ให้ไพร่ฟ้าได้พึ่งพา๔. ให้มั่นคงในมเหสี ไม่ลุ่มหลงสตรีอื่น๕. ให้ได้สืบสันติวงศ์๖. ให้มีสิ่งของบริจาคทานมิสิ้น๗. ให้มีอาหารทิพย์พอเพียงทุกรุ่งเช้า๘. ให้ได้สำเร็จพระโพธิญาณ แล้วท้าวสหัสนัยก็เนรมิตรร่างเป็นพระอินทร์เหาะขึ้นฟ้าไปทันที๑๑.กัณฑ์มหาราชความย่อ กล่าวถึงชูชกได้พาสองกุมารหลงทางไปจนถึงเมืองสีพี จนกระทั่งได้พบกับพระเจ้าปู่พระเจ้าย่า จึงรับสั่งให้ ไถ่ถอนตัวทั้งสองพระองค์ และพระราชทานเลี้ยงอาหารชั้นดีแก่ชูชก ชูชกไม่มีวาสนาเพราะบริโภคมากเกินไป เป็นเหตุให้ไฟธาตุพิการอาหารไม่ย่อยจนถึงแก่ความตาย พระเจ้าสญชัยรับสั่งให้เตรียมกองทัพไปรับสองพระองค์ เนื้อเรื่องด้านชูชกเฒ่านั้นฉุดลากสองกุมารน้อยไปพลางทุบตีไปพลาง ด้วยหวังจะกลับไปหาภรรยาโดยเร็ว เมื่อถึงทางแยก เข้าเมืองกลิงคราฐ เทพยดาก็ดลบันดาลให้ชูชกเดินเข้ามาในเมืองสีพีรัฐ พระเจ้ากรุงสัญชัยก็ได้ทรงสุบินประหลาดว่า มีชายอัปลักษณ์นำดอกบัวตูมและดอกบัวบานมาถวายให้ พระองค์ รับมาทัดที่พระกรรณแล้วก็ทรงตื่นบรรทม เหล่าโหรก็ถวายคำทำนายว่า พระราชวงศ์ที่จากพลัดไปจะเสด็จคืนวัง วันรุ่งขึ้นนั้นเฒ่าชูชกจูงกุมารน้อยผ่านหน้าพระลาน พระราชาทรงเฉลียวพระทัย จึงให้เรียกตัวเฒ่าอัปลักษณ์ และกุมารน้อย มอมแมมแต่ผิวพรรณเปล่งปลั่งนั้นเข้ามาเฝ้า เมื่อพระราชาสอบถาม ชูชกก็กราบทูลว่า ได้รับบริจาคมา มิได้ไปฉุดคร่ามาที่ใด พระราชาจึงทรงรู้ว่า ๒ กุมารน้อยนั้นเป็นหลานของพระองค์ จึงทรงไถ่ตัวหลาน และพระราชทานรางวัล ให้แก่ชูชกมากมาย ทั้งยังจัดอาหารคาวหวานชั้นเลิศมาให้แก่ชูชกอีกด้วย ขอทานเฒ่าไม่เคยเห็นอาหารชั้นดี มีความโลภจะกินให้หมด จึงกินเข้าไปไม่หยุดจนกระทั่งท้องแตกตายไป พระราชาเจ้ากรุงสัญชัยทรงจัดพิธีเวียนเทียนบายศรี สมโภชรับขวัญหลานเป็นที่ยิ่งใหญ่สมเกียรติ ครั้นแล้วก็ทรงถามถึงพระนางมัทรีและพระเวสสันดร ที่จากไปนานเป็นเวลา ๑ ปี ๑๕ วันแล้ว "พระมารดาทรงลำบากเหลือแสนพระเจ้าข้า" ชาลีราชกุมารทูลพระราชาด้วยสุระเสียงกำสรวลยิ่งนัก เสด็จคืนเวียงวัง พระราชาจึงทรงให้จัดขบวนแต่งกองเกียรติยศ ยกออกนครไปรับพระเวสสันดร กลับสู่เวียงวังด้วยทรงคิดถึงราชบุตรและสำนึกผิดแล้ว ๑๒.กัณฑ์ฉกษัตริย์ความย่อ กล่าวถึงพระเจ้ากรุงสัญชัยและจตุรงคเสนา เดินทางไปถึงเขาวงกต กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ได้มาพบกัน ในกลางป่า โดยมิได้คาดฝัน ก็ทรงวิปโยคโศกศัลย์จนถึงวิสัญญีภาพสลบลง ฝนโบกขรพรรษ บันดาลตกลงมา ให้ทรงฟื้น แล้วพากันขอลุโทษและทูลอาราธนาให้ลาผนวช เนื้อเรื่องการเสด็จพระราชดำเนินของพระเจ้ากรุงสัญชัยและจตุรงคเสนาเป็นขบวนเสด็จ จากรุงเชตุดรนครหลวง ถึงเขาวงกตเป็นระยะทาง ๖๐ โยชน์ เท่ากับ ๙๖๐ กิโลเมตร กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ได้มาพบกันด้วยในกลางป่า โดยมิได้คาดฝัน จึงได้ร่วมเดินทางไปยังเขาวงกตพร้อมกัน กองขบวนเกียรติยศ พร้อมมโหรีและไพร่พล ก็เคลื่อนสู่ป่าด้วยเสียงอันกึกก้องลั่นป่า พระเวสสันดรเข้าพระทัยว่า กองในพระราชวังคงจะมาประหารพระองค์ จึงทรงพาพระนางมัทรีไปหลบซ่อนในพุ่มไม้ ครั้นพระเจ้ากรุงสัญชัยบอกความให้ทราบ พระนางมัทรีก็ออกมาถวายบังคม ต่างก็ร่ำไห้ด้วยสลดใจ กันถ้วนทั่ว ในเคราะห์กรรมนี้ แม้บรรดาเสนาอำมาตย์และนางกำนัลต่างก็ร้องไห้กันทั่ว พระราชาตรัสให้พระเวสสันดรลาผนวชกลับคืนสู่เวียงวัง พระนางผุสดีก็ขอให้พระนางมัทรีคืนสู่พระราชวังเถิด พระนางมัทรีได้แต่กันแสงสวมกอดกัณหาพระธิดา และพระโอรสชาลีไว้แนบอกด้วยทรงคิดถึงยิ่ง บริเวณป่า เต็มไปด้วย เสียงคร่ำครวญระงมจนหมดสติไปทั้งสิ้น พระอินทร์บนสรวงสวรรค์เล็งทิพยเนตรเห็นดังนั้น จึงทรงบันดาลสายฝนให้โปรยปรายเป็นอัศจรรย์ ในป่าชุ่มชื้นด้วยในโบกขรพรรษที่มิสาดให้ผู้ใดเปียกปอน บรรดาพระราชวงศ์ก็ทรงฟื้นขึ้นมา ด้วยความแช่มชื่นปราโมทย์ หลังจากนั้นได้ขอลุแก่โทษ และทูลอาราธนาให้พระเวสสันดรทรงลาผนวช๑๓.กัณฑ์นครกัณฑ์ความย่อ กล่าวถึงพระเวสสันดรเมื่อลาผนวชแล้ว ทรงสั่งลาพระอาศรม รับพระราชทานเครื่องทรงกษัตริย์ แล้วเสด็จกลับ ไปครองเมืองสีพี ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขจนพระชนมายุ ๑๒๐ พรรษา จึงสวรรคต แล้วไปปรากฏอุบัติเป็น ท้าวสันดุสิตเทพบุตร บนสวรรค์ชั้นดุสิต เนื้อเรื่องเมื่อทรงลาผนวชแล้ว ทรงสั่งลาพระอาศรม รับเครื่องทรงกษัตริย์ แล้วเสด็จกลับไปครองเมืองสีพี พระเวสสันดรเสด็จขึ้นครองราชย์ครองแผ่นดิน ทำให้ไพร่ฟ้าเสนาอำมาตย์มีสุขสงบกันทั่วทั้งแคว้น ชาวเมือง ต่างก็หมั่นถือศีลบำเพ็ญกุศล ตามสัตย์อธิษฐานของพระเวสสันดร กษัตริย์เมืองกลิงคราฐ ก็นำช้างปัจจัยนาเคนทร์ มาถวายคืน เพราะบ้านเมืองมีฝนตกต้องตามฤดูกาลแล้ว พระเวสสันดรก็ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม และยังคง ทรงบริจาคทาน จนพระชนมายุได้ ๑๒๐ พรรษาจึงสวรรคตแล้วไป ปรากฎอุบัติเป็นท้าวสันดุสิตเทพบุตร บนสวรรค์ชั้นดุสิตรวมระยะเวลาที่พระเวสสันดร มัทรี ชาลี กัณหา ต้องนิราศ จากพระนครไปอยู่ป่า เป็นเวลา ๑ ปี ๑๕ วัน
แหล่งที่มาhttp://www.geocities.com/pravatesundorn/vesh13.htm

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้นบ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านการปกครอง การทหาร ศาสนา และศิลปกรรม เป็นปัจจัยให้เกิดวรรณคดีมากมาย โดยวรรณคดีที่สำคัญได้แก่ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่าย และมหาชาติคำหลวง
๑.ลิลิตโองการแข่งน้ำ ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ (อู่ทอง) ผู้แต่งคงจะเป็นผู้รู้พิธีพราหมณ์ และรู้วิธีประพันธ์ของไทยเป็นอย่างดี ต้นฉบับเดิมที่เหลืออยู่เขียนด้วยอักษรขอม หนังสือเรื่องนี้นับว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของคนไทย ที่แต่งเป็นร้อยกรองอย่างสมบูรณ์แบบ ชื่อเรียกแต่เดิมว่า โองการแช่งน้ำบ้าง ประกาศแช่งน้ำโคลงห้าบ้าง ต้นฉบับที่ถอดเป็นอักษรไทยจัดเป็นวรรคตอนคำประพันธ์ไว้ค่อนข้างสับสน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัว ทรงสอบทานและพระราชวินิจฉัยเรียบเรียงวรรคตอนใหม่ ทำนองแต่ง มีลักษณะเป็นลิลิต คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลงแบบโคลงห้าหรือมณฑกคติ จุดประสงค์ในการแต่งเพื่อใช้อ่านในพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยาหรือพิธีศรีสัจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทองสึบต่อกันมาจนเลิกไปเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย
ลิลิตโองการแช่งน้ำ เริ่มด้วยร่ายดั้นโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหมตามลำดับ ต่อจากนั้นบรรยายด้วยโคลงห้า และร่ายดั้นโบราณสลับกัน กล่าวถึงไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่ เกิดมนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และการเริ่มมีพระราชาธิบดีในหมู่คน แล้วอัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้ามาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปเป็นการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดา อสูร ภูตปีศาจ ตลอดจนสัตว์มีเขี้ยวเล็บเป็นพยาน ลงโทษผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและลาภยศ ตอนจบเป็นร่ายยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน
๒.มหาชาติคำหลวง ผู้แต่ง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่ง เมื่อ พุทธศักราช ๒๐๒๕ มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทย และเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่งและปีที่แต่งมหาชาติคำหลวง ปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว้ตรงกับมหาชาติคำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะและนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อมให้ครอบ ๑๓ กัณฑ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๔๗ ได้แก่ กัณฑ์หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์ แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าง กาพย์ และฉันท์ มีภาษาบาลี แทรกตลอดเรื่อง มหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง จุดประสงค์ในการแต่งเพื่อใช้อ่านหรือสวดในวันสำคัญทางศาสนา และอาจเรียกรอยตามพระพุทธธรรมราชาลิไท
มหาชาติคำหลวง เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับศาสนาโดยตรง มีใจความใกล้เคียงกับข้อความที่แต่งเป็นภาษาบาลี การแทรกบาลีลงไว้มากมายเช่นนี้ ทำให้ฟังยากจนต้องมีการแต่งขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มหาชาติคำหลวงทั้งของเดิมและที่แต่งใหม่ในรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตโกสินทร์ มีสำนวนโวหารและถ้อยคำไพเราะเพราะพริ้งอยู่มาก แทรกไว้ด้วยรสวรรณคดีหลายประการ นอกจากนี้ยังให้ความรู้ทางด้านภาษา ทำให้ทราบคำโบราณ คำแผลง และภาษาต่างประเทศ
มหาชาติคำหลวง แบ่งออกเป็น ๑๓ ตอน ซึ่งเรียกว่ากัณฑ์ดังนี้
กัณฑ์ทศพร เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วเสด็จไปเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นเสด็จไปโปรดพุทธบิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ เกิดฝนโบกขพรรษ พระสงฆ์สาวกกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงเรื่องพระเวสสันชาดก เริ่มตั้งแต่เมื่อกัปที่ ๙๘ นับเป็นแต่ปัจจุบัน พระนางผุสดีซึ่งจะทรงเป็นพระมารดาของพระเวสสันดร ทรงอธิฐานขอเป็นมารดาของผู้มีใจบุญ จบลงตอนพระนางได้รับพระ ๑๐ ประการจากพระอินทร์ กัณฑ์หิมพานต์
พระเวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสัญญชัยกับพระนาวผุสดี แห่งแคว้นสีวีราษฎร์ประสูติตรอกพ่อค้า เมื่อพระเวสสันดรได้เวนราชสมบัติจากพระมารดา ได้พระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่กษัตริย์แห่งแคว้นกลิงรางราษฎร์ ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกเนรเทศไปอยู่ป่าหิมพานต์ กัณฑ์ทานกัณฑ์ ก่อนเสด็จไปอยู่ป่า พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตตดกทาน คือ ช้าง ม้า รถ ทาสชาย ทาสหญิง โคนม และนางสนม อย่าง ๗๐๐
กัณฑ์วนประเวสน์ พระเวสสันดรทรงพาพระนางมัทรีพระชายา พระชาลีและพระกันหาพระโอรสพระธิดา เสด็จจากเมืองผ่านแคว้นเจตราษฏร์จนเสด็จถึงเขาวงกตในป่าหิมพานต์
กัณฑ์ชูชก ชูชกพราหมณ์ขอทานได้นางอมิตดาเป็นภรรยา นางใช้ให้ไปขอสองกุมาร ชูชกเดินทางไปสืบข่าวในแคว้นสีวีราษฏร์ สามารถหลบหลีกการทำร้ายของชาวเมือง พบเจตบุตร ลวงเจตบุตร ให้บอกทางไปยังเขาวงกต
กัณฑ์จุลพน ชูชกเดินทางผ่านป่าตามเส้นทางตามที่เจตบุตรแนะจนถึงทีอยู่ของอัจจุตฤษี
กัณฑ์มหาพน ชูชกลวงอัจจุจฤษี ให้บอกทางผ่านป่าใหญ่ไปยังที่ประทับของพระเวสสันดร
กัณฑ์กุมาร ชูชกทูลขอสองกุมาร ทุบตีสองกุมารเฉพาะพรพักตร์พระเวสสันดร แล้วพาออกเดินทาง กัณฑ์มัทรี พระนางมัทรีเสด็จกลับมาจากหาผลไม้ที่ป่า ออกติดตามสองกุมารตลอกคืน จนถึงทางวิสัญญีเฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร เมื่อทรงพื้นแล้ว พระเวสสันดรเล่าความจริงเกี่ยวกับสองกุมาร พระนางทรงอนุโมทนาด้วย
กัณฑ์สักกบรรพ พระอินทร์ทรงเกรงว่าจะผู้ที่มาพระนางมัทรีไปเสีย ทรงเปลงเป็นพราหมณ์ชรามาทูลของพระนางมัทรีแล้วฝากไว้ที่พระเวสสันดร
กัณฑ์มหาราช ชูชกเดินทางเข้าแคว้นสีวีราษฎร์ พระเจ้าสญชัยทรงไถ่สองกุมาร ชูชกได้รับพระราชทานเลี้ยง และถึงแก่กรรมด้วยการบริโภคอาหารมากเกินควร
กัณฑ์ฉกษัตริย์ พระเจ้าสัญญชัย พระนางผุสดี พระชาลี และพระกันหา เสด็จไปทูลเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับ เมื่อกษัตริย์หกพระองค์ทรงพบกัน ก็ทรงวิสัญญี ต่อฝนโบกขพรรษตก จึงทรงฟื้นขึ้น กัณฑ์นครกัณฑ์ กษัตริย์ทั้งหกพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระเวสสันดรได้ครองราชย์ดังเดิม บ้านเมืองสมบูรณ์พูนสุข
๓.ลิลิตยวนพ่าย ไม่ปรากฏผู้แต่ง สันนิษฐานแต่งในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ.๒๐๑๗ ซึ่งเป็นปีเสด็จศึกเชียงชื่น แต่ ความเห็นอีกประการหนึ่งว่า แต่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๓๔ - ๒๐๗๒) คำว่า "ยวน"ในลิลิตเรื่องนี้หมายถึง "ชาวลานนา"คำ "ยวนพ่าย"หมายถึง "ชาวล้านาแพ้"เนื้อเรื่องของลิลิตยวนพ่ายกล่าวชาวลานนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ซึ่งพ่ายแพ้แก่กรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ลิลิตยวนพ่ายแต่งเป็นลิลิตดั้น ประกอบด้วยร่ายดั้นโคลงดั้นบาทกุญชร ร่ายดั้น ๒ บท และโคลงดั้นบทกุญชร ๓๖๕ บท จุดประสงค์ในการแต่งเพื่อยอพระเกียรติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสดุดีชัยชนะที่มีต่อเชียงใหม่ในรัชกาลนั้น ลิลิตยวนพ่าย มีลักษณะเป็นวรรณคดีหรือเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้นอย่างยิ่ง เพราะบรรยายเรื่องราวต่างๆไว้อย่างละเอียด และแต่งในระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือใกล้เคียงกับเหตุการณ์นั้น จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ โดยตอนต้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าและนำหัวข้อธรรมมาแจกแจงทำนองยกย่องสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า ทรงคุณธรรมข้อนั้น ๆ กล่าวถึงพระราชประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนได้ราชสมบัติ ต่อมาเจ้าเมืองเชียงชื่น(เชลียง)เอาใจออกหาง นำทัพเชียงใหม่มาตีเมืองชัยนาท แต่ถูกสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตีแตกกลับไป และยึดเมืองสุโขทัยคืนมาได้ แล้วประทับอยู่เมืองพิษณุโลก เสด็จออกบวชชั่วระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นกล่าวถึงการทำสงครามกับเชียงใหม่อย่างละเอียดครั้งหนึ่ง แล้วบรรยายเหตุการณ์ทางเชียงใหม่ ว่าพระเจ้าติโลกราชเสียพระจริต ประหารชีวิตหนานบุญเรืองราชบุตร และหมื่นดังนครเจ้าเมืองเชียงชื่น ภรรยาหมื่นดังนครไม่พอใจ ลอยมีสารมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและขอกองทัพไปช่วย พระเจ้าติโลกราชทรงยอทัพมาป้องกันเมืองเชียงชื่น เสร็จแล้วเสด็จกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกรีธาทัพหลวงขึ้นไปรบตีเชียงใหม่พ่ายไปได้เมือวเชียวชื่ม ตอนสุดท้ายสรรเสริญพระบารมีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอีกครั้งหนึ่ง
อ้างอิงจาก
http://www.nuanphun.com/no102.html
http://www.nuanphun.com/no100.html

Happy New Year ย้อนหลังจ้า

สวัสดีปีใหม่จ้าเพื่อนๆทุกคน เป็นยังไงกันบ้างจ๊ะ
ปีใหม่ได้ไปเที่ยวที่ไหนกันหรือเปล่า เราได้ไปเที่ยวมาตั้งหลายที่
ที่แรกเลยคือ บ้านปาล์ม (ปิยะธิดา ม.4/2) สนุกมากมาย
ไปเที่ยวงานวัดกัน ก่อนที่จะไปที่บ้านปาล์มเราได้ไปช่วยฝน
แต่งหน้าเค้กมาด้วยแหละ หลังจากไปบ้านปาล์มแล้ว
วันอื่นๆก็ไปเที่ยวกับครอบครัว หรือมีกิจกรรมที่บ้านนิดหน่อย

ปีใหม่แล้วขอให้เพื่อนๆทุกคน มีความสุขมากๆ สุขภาพร่างกายแข็งแรง

คิดสิ่งใดก็ขอให้สมปรารถนาทุกประการ