วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สรุปเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง

ชื่อและประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อวันพุธที่24กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า ฉิม พระองค์ทรงเป็น พระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกับกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ลักษณะของงานประพันธ์ กลอนบทละคร ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นยอดแห่งกลอนบทละคร
ชื่อและลักษณะนิสัยของตัวละคร
1. อิเหนา เป็นคนเจ้าชู้ ฉลาด รบเก่ง
ตัวอย่าง นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
2. บุษบา รูปโฉมงดงาม เป็นที่หมายปองของชายหนุ่มมากมาย
3.ท้าวกะหมังกุหนิง เป็นคนรักลูกมากเกินไป เห็นแก่ตัว
ตัวอย่าง โอ้ว่าพระองค์ผู้ทรงยศ พระเกียรติปรากฏในแหล่งหล้า
สงครามทุกครั้งแต่หลังมา ไม่เคยอัปราแก่ไพรี
ครั้งนี้ควรหรือมาพินาศ เบาจิตคิดประมาทไม่พอที่
เพราะรักบุตรสุดสวาทแสนทวี จะทัดทานภูมีไม่เชื่อฟัง
4. ท้าวกุเรปัน เป็นผู้มีพระทัยเด็ดเดี่ยว ยึดถือความถูกต้อง ทะนงในศักดิ์ศรี
ตัวอย่าง ในลักษณ์อักษรสาร ว่าระตูหมันหยาเชนผู้ใหญ่
มีราชธิดายาใจ แกล้งให้แต่งตัวไว้ยั่วชาย
จนลูกเราร้างคู่ตุนาหงัน ไปหลงรักผูกพันที่หมันหยา
จะให้ชิงผัวเขาเอาเด็ดตาย ช่างไม่อายไพร่ฟ้าประชาชน
5. นางจินตะหรา รูปโฉมงดงาม เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตนเอง แสนงอน
ตัวอย่าง พระจะไปดาหาปราบข้าศึก หรือรำลึกถึงคู่ตุนาหงัน
ด้วยสงครามในจิตยังติดพัน จึงบิดผันพจนาหน้าไม่อาลัย
ไหนพระผ่านฟ้าสัญญาน้อง จะปกป้องครองความพิสมัย
ไม่นิราศแรมร้างห่างไกล จนบรรลัยมอดม้วยไปด้วยกัน
6. วิหยาสะกำ มีฝีมือในการใช้ทวนเป็นอาวุธ มีจิตใจอ่อนไหว
ตัวอย่าง เมื่อนั้น วิหยาสะกำใจกล้า
ได้ฟังคลั่งแค้นแทนบิดา จึงร้องตอบวาจาว่าไป

7. สังคามาระตา เป็นคนกล้าหาญ เฉลียวฉลาด
ตัวอย่าง เมื่อนั้น สังคามาระตาแข็งขัน
ขับม้าไวว่องป้องประจัญ เป็นเชิงชันชิงชัยในทีทวน
ร่ายรับกลับแทงไม่แพลงพล้ำ วิหยาสะกำผัดผันหันหวน
ต่างเรียงเคียงร่ายย้ายกระบวน ปะทะทวนรวนรุกคลุกคลี
8. ท้าวดาหา เป็นคนประชดประชันเก่ง ยุติธรรม
ตัวอย่าง อันอะหนะบุษบาบังอร ครั้งก่อนจรกาตุนาหงัน
ได้ปลดปล่อยลงในใจให้บัน นัดกันจะแต่งการวิวาห์
ซึ่งจะรับของสู่ระตูนี้ เห็นจะผิดประเพณีหนักหนา
ฝูงคนทั้งแผ่นดินจะนินทา สิ่งของที่เอามาจงคืนไป
ข้อคิด คติธรรมที่ได้จากเรื่อง
1. ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
2. การต่อสู่กันต้องใช้ไหวพริบและความสามารถในการรบ
3. สงครามนำมาซึ่งหายนะ
4. แสดงให้เห็นความรักอันยิ่งใหญ่ของพ่อที่มีต่อลูก
5. ไม่ควรรักลูกมากเกินไป
ประโยชน์และคุณค่า
1. บทบรรยายเล่าเรื่องกระชับ เดินเรื่องเร็ว บรรยายให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ และแสดงอารมณ์ของตัวละคร
2. บทพรรณนาถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพชัดเจน
3.บทครวญนิราศแสดงอารมณ์ทุกข์โศกของตัวละครที่ต้องพลัดพรากจากผู้ที่เป็นที่รัก
4. ความเปรียบสื่อความได้ชัดเจนทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ
5. โวหารโต้ตอบคมคาย
6. การเล่นคำด้วยคำพ้องเสียง มาเรียงร้อยให้เข้ากัน
คำที่อ่านยาก เขียนยาก
1. ไอศูรย์
2. อาส์น
3. สีหบัญชร
4. กั้นหยัน
5. ดัสกร
6. ประเจียด
7. ประเสบัน
8. พหลพลขันธ์
9. มุรธาวารีภิเษก
10.วิหลั่น
11. ศรีปัตหรา 12.อะหนะ
13.อาสัตย์ 14. อึงอุตม์


เรื่องย่อ
ท้าวกะหมังกุหนิง มีโอรสชื่อ วิหยาสะกำ ในคราวที่วิหยาสะกำออกประพาสป่า องค์ปะตาระกาหลาได้แปลงร่างเป็นกวางทอง เพื่อล่อให้วิหยาสะกำมายังต้นไทรที่พระองค์ทิ้งรูปวาดนางบุษบาไว้ เมื่อวิหยาสะกำเห็นรูปวาดก็หลงรักนางทันที ท้าวกะหมังกุหนิงรู้ว่านางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหา ที่ตอนนี้เป็นคู่หมั้นของจรกาแล้ว แต่ด้วยความรักลูกและสงสารลูกจึงส่งทูตไปสู่ขอนางบุษบาให้วิหยาสะกำ แต่ท้าวดาหาปฎิสธ ท้าวกะหมังกุหนิงจึงสั่งยกทัพมาตีเมืองดาหาเพื่อชิงตัวนางบุษบา ท้าวดาหาส่งพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน ท้าวกาหลัง ท้าวสิงหัดส่าหรีและจรกาให้ยกทัพมาช่วยรบ เมื่อท้าวกุเรปันได้รับทราบแล้วจึงให้ทหารนำจดหมายไปให้อิเหนาที่เมืองหมันหยา อิเหนาไม่อยากไปแต่กลัวพ่อโกธเลยต้องไปในที่สุดอิเหนาก็ยกทัพมาพร้อมกับ กะหรัดตะปาตี ทำให้ท้าวดาหาดีใจมากเพราะเชื่อว่าอิเหนาต้องรบชนะแต่ด้วยความที่ อิเหนาเคยทำให้โกธร เพราะปฏิเสธการแต่งงานกับนางบุษบา จนทำให้เกิดเรื่องขึ้น อิเหนาจึงตัดสินใจรบให้ชนะก่อนแล้วค่อยไปเฝ้าท้าวดาหา ในที่สุดเมื่อท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมาใกล้เมืองดาหา ทำให้เกิดการต่อสู้กับกองทัพของอิเหนา ในที่สุด สังคามาระตาก็เป็นผู้ฆ่าวิหยาสะกำ ส่วนอิเหนาเป็นผู้ฆ่าท้าวกะหมังกุหนิงตายในสนามรบด้วยกริชเทวา หลังจากนั้นท้าวปาหยันและท้าวประหมัน พี่และน้องของท้าวกะหมังกุหนิง ก็ยอมอ่อนน้อมต่ออิเหนา อิเหนาจึงอนุญาติให้ ท้าวปาหยันและท้าวประหมันนำศพของท้าวกะหมังกุหนิงและวิหยาสะกำไปทำพิธีตามประเพณี

1 ความคิดเห็น:

~U~jiwa Cha-mA กล่าวว่า...

Thank So Lot!!^^