วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้นบ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านการปกครอง การทหาร ศาสนา และศิลปกรรม เป็นปัจจัยให้เกิดวรรณคดีมากมาย โดยวรรณคดีที่สำคัญได้แก่ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่าย และมหาชาติคำหลวง
๑.ลิลิตโองการแข่งน้ำ ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ (อู่ทอง) ผู้แต่งคงจะเป็นผู้รู้พิธีพราหมณ์ และรู้วิธีประพันธ์ของไทยเป็นอย่างดี ต้นฉบับเดิมที่เหลืออยู่เขียนด้วยอักษรขอม หนังสือเรื่องนี้นับว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของคนไทย ที่แต่งเป็นร้อยกรองอย่างสมบูรณ์แบบ ชื่อเรียกแต่เดิมว่า โองการแช่งน้ำบ้าง ประกาศแช่งน้ำโคลงห้าบ้าง ต้นฉบับที่ถอดเป็นอักษรไทยจัดเป็นวรรคตอนคำประพันธ์ไว้ค่อนข้างสับสน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัว ทรงสอบทานและพระราชวินิจฉัยเรียบเรียงวรรคตอนใหม่ ทำนองแต่ง มีลักษณะเป็นลิลิต คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลงแบบโคลงห้าหรือมณฑกคติ จุดประสงค์ในการแต่งเพื่อใช้อ่านในพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยาหรือพิธีศรีสัจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทองสึบต่อกันมาจนเลิกไปเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย
ลิลิตโองการแช่งน้ำ เริ่มด้วยร่ายดั้นโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหมตามลำดับ ต่อจากนั้นบรรยายด้วยโคลงห้า และร่ายดั้นโบราณสลับกัน กล่าวถึงไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่ เกิดมนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และการเริ่มมีพระราชาธิบดีในหมู่คน แล้วอัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้ามาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปเป็นการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดา อสูร ภูตปีศาจ ตลอดจนสัตว์มีเขี้ยวเล็บเป็นพยาน ลงโทษผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและลาภยศ ตอนจบเป็นร่ายยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน
๒.มหาชาติคำหลวง ผู้แต่ง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่ง เมื่อ พุทธศักราช ๒๐๒๕ มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทย และเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่งและปีที่แต่งมหาชาติคำหลวง ปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว้ตรงกับมหาชาติคำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะและนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อมให้ครอบ ๑๓ กัณฑ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๔๗ ได้แก่ กัณฑ์หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์ แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าง กาพย์ และฉันท์ มีภาษาบาลี แทรกตลอดเรื่อง มหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง จุดประสงค์ในการแต่งเพื่อใช้อ่านหรือสวดในวันสำคัญทางศาสนา และอาจเรียกรอยตามพระพุทธธรรมราชาลิไท
มหาชาติคำหลวง เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับศาสนาโดยตรง มีใจความใกล้เคียงกับข้อความที่แต่งเป็นภาษาบาลี การแทรกบาลีลงไว้มากมายเช่นนี้ ทำให้ฟังยากจนต้องมีการแต่งขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มหาชาติคำหลวงทั้งของเดิมและที่แต่งใหม่ในรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตโกสินทร์ มีสำนวนโวหารและถ้อยคำไพเราะเพราะพริ้งอยู่มาก แทรกไว้ด้วยรสวรรณคดีหลายประการ นอกจากนี้ยังให้ความรู้ทางด้านภาษา ทำให้ทราบคำโบราณ คำแผลง และภาษาต่างประเทศ
มหาชาติคำหลวง แบ่งออกเป็น ๑๓ ตอน ซึ่งเรียกว่ากัณฑ์ดังนี้
กัณฑ์ทศพร เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วเสด็จไปเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นเสด็จไปโปรดพุทธบิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ เกิดฝนโบกขพรรษ พระสงฆ์สาวกกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงเรื่องพระเวสสันชาดก เริ่มตั้งแต่เมื่อกัปที่ ๙๘ นับเป็นแต่ปัจจุบัน พระนางผุสดีซึ่งจะทรงเป็นพระมารดาของพระเวสสันดร ทรงอธิฐานขอเป็นมารดาของผู้มีใจบุญ จบลงตอนพระนางได้รับพระ ๑๐ ประการจากพระอินทร์ กัณฑ์หิมพานต์
พระเวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสัญญชัยกับพระนาวผุสดี แห่งแคว้นสีวีราษฎร์ประสูติตรอกพ่อค้า เมื่อพระเวสสันดรได้เวนราชสมบัติจากพระมารดา ได้พระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่กษัตริย์แห่งแคว้นกลิงรางราษฎร์ ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกเนรเทศไปอยู่ป่าหิมพานต์ กัณฑ์ทานกัณฑ์ ก่อนเสด็จไปอยู่ป่า พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตตดกทาน คือ ช้าง ม้า รถ ทาสชาย ทาสหญิง โคนม และนางสนม อย่าง ๗๐๐
กัณฑ์วนประเวสน์ พระเวสสันดรทรงพาพระนางมัทรีพระชายา พระชาลีและพระกันหาพระโอรสพระธิดา เสด็จจากเมืองผ่านแคว้นเจตราษฏร์จนเสด็จถึงเขาวงกตในป่าหิมพานต์
กัณฑ์ชูชก ชูชกพราหมณ์ขอทานได้นางอมิตดาเป็นภรรยา นางใช้ให้ไปขอสองกุมาร ชูชกเดินทางไปสืบข่าวในแคว้นสีวีราษฏร์ สามารถหลบหลีกการทำร้ายของชาวเมือง พบเจตบุตร ลวงเจตบุตร ให้บอกทางไปยังเขาวงกต
กัณฑ์จุลพน ชูชกเดินทางผ่านป่าตามเส้นทางตามที่เจตบุตรแนะจนถึงทีอยู่ของอัจจุตฤษี
กัณฑ์มหาพน ชูชกลวงอัจจุจฤษี ให้บอกทางผ่านป่าใหญ่ไปยังที่ประทับของพระเวสสันดร
กัณฑ์กุมาร ชูชกทูลขอสองกุมาร ทุบตีสองกุมารเฉพาะพรพักตร์พระเวสสันดร แล้วพาออกเดินทาง กัณฑ์มัทรี พระนางมัทรีเสด็จกลับมาจากหาผลไม้ที่ป่า ออกติดตามสองกุมารตลอกคืน จนถึงทางวิสัญญีเฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร เมื่อทรงพื้นแล้ว พระเวสสันดรเล่าความจริงเกี่ยวกับสองกุมาร พระนางทรงอนุโมทนาด้วย
กัณฑ์สักกบรรพ พระอินทร์ทรงเกรงว่าจะผู้ที่มาพระนางมัทรีไปเสีย ทรงเปลงเป็นพราหมณ์ชรามาทูลของพระนางมัทรีแล้วฝากไว้ที่พระเวสสันดร
กัณฑ์มหาราช ชูชกเดินทางเข้าแคว้นสีวีราษฎร์ พระเจ้าสญชัยทรงไถ่สองกุมาร ชูชกได้รับพระราชทานเลี้ยง และถึงแก่กรรมด้วยการบริโภคอาหารมากเกินควร
กัณฑ์ฉกษัตริย์ พระเจ้าสัญญชัย พระนางผุสดี พระชาลี และพระกันหา เสด็จไปทูลเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับ เมื่อกษัตริย์หกพระองค์ทรงพบกัน ก็ทรงวิสัญญี ต่อฝนโบกขพรรษตก จึงทรงฟื้นขึ้น กัณฑ์นครกัณฑ์ กษัตริย์ทั้งหกพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระเวสสันดรได้ครองราชย์ดังเดิม บ้านเมืองสมบูรณ์พูนสุข
๓.ลิลิตยวนพ่าย ไม่ปรากฏผู้แต่ง สันนิษฐานแต่งในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ.๒๐๑๗ ซึ่งเป็นปีเสด็จศึกเชียงชื่น แต่ ความเห็นอีกประการหนึ่งว่า แต่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๓๔ - ๒๐๗๒) คำว่า "ยวน"ในลิลิตเรื่องนี้หมายถึง "ชาวลานนา"คำ "ยวนพ่าย"หมายถึง "ชาวล้านาแพ้"เนื้อเรื่องของลิลิตยวนพ่ายกล่าวชาวลานนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ซึ่งพ่ายแพ้แก่กรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ลิลิตยวนพ่ายแต่งเป็นลิลิตดั้น ประกอบด้วยร่ายดั้นโคลงดั้นบาทกุญชร ร่ายดั้น ๒ บท และโคลงดั้นบทกุญชร ๓๖๕ บท จุดประสงค์ในการแต่งเพื่อยอพระเกียรติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสดุดีชัยชนะที่มีต่อเชียงใหม่ในรัชกาลนั้น ลิลิตยวนพ่าย มีลักษณะเป็นวรรณคดีหรือเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้นอย่างยิ่ง เพราะบรรยายเรื่องราวต่างๆไว้อย่างละเอียด และแต่งในระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือใกล้เคียงกับเหตุการณ์นั้น จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ โดยตอนต้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าและนำหัวข้อธรรมมาแจกแจงทำนองยกย่องสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า ทรงคุณธรรมข้อนั้น ๆ กล่าวถึงพระราชประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนได้ราชสมบัติ ต่อมาเจ้าเมืองเชียงชื่น(เชลียง)เอาใจออกหาง นำทัพเชียงใหม่มาตีเมืองชัยนาท แต่ถูกสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตีแตกกลับไป และยึดเมืองสุโขทัยคืนมาได้ แล้วประทับอยู่เมืองพิษณุโลก เสด็จออกบวชชั่วระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นกล่าวถึงการทำสงครามกับเชียงใหม่อย่างละเอียดครั้งหนึ่ง แล้วบรรยายเหตุการณ์ทางเชียงใหม่ ว่าพระเจ้าติโลกราชเสียพระจริต ประหารชีวิตหนานบุญเรืองราชบุตร และหมื่นดังนครเจ้าเมืองเชียงชื่น ภรรยาหมื่นดังนครไม่พอใจ ลอยมีสารมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและขอกองทัพไปช่วย พระเจ้าติโลกราชทรงยอทัพมาป้องกันเมืองเชียงชื่น เสร็จแล้วเสด็จกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกรีธาทัพหลวงขึ้นไปรบตีเชียงใหม่พ่ายไปได้เมือวเชียวชื่ม ตอนสุดท้ายสรรเสริญพระบารมีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอีกครั้งหนึ่ง
อ้างอิงจาก
http://www.nuanphun.com/no102.html
http://www.nuanphun.com/no100.html

2 ความคิดเห็น:

KurobaNaru กล่าวว่า...

ดีจ้าหยก
เราบูมนะจ๊ะ
เรามาเยี่ยม blog แล้วนะคะ
แลดูเรียบๆสบายตามากๆ

Unknown กล่าวว่า...

สวัสดี หยก

เรา เตย4/1

สวยดี
แต่ใส่ link
หรืองานอีกหน่อยนะจ้ะ